ระบบอัตโนมัติวิถีลีนคืออะไร(What is Lean Automation)

ท่านเกิดคำถามหรือข้อสงสัยเหล่านี้หรือไม่ เมื่อต้องการนำระบบอัตโนมัติมาใช้

เราจะเปลี่ยนคนกี่คนให้เป็น Automation ดี?
เราจะเปลี่ยน Station ไหนให้เป็น Automation ก่อนดี
เมื่อมีการนำเอา Automation มาใช้แล้วจะคุ้มค่าหรือเปล่าหรือจะสร้างผลกำไรให้เราตลอดไปหรือไม่
จะทำระบบออโตเมชั่นที่ดีที่สุดให้เกิดชึ้นได้อย่างไร
Lทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดผลตอบแทนที่ดีหลังจากนำไปใช้ในกระบวนการผลิตในชีวิตจริงist item

คำถามเหล่านี้สามารถหาได้ด้วยหลักของ Lean Automation

โดยเราจะต้องแก้ไปทีละขั้นตอน ซึ่งสถาบันไทย-เยอรมัน ศูนย์กรุงเทพ ของเราเป็นแห่งแรกที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นผ่านโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น (โครงการ Lean Automation SI) เรามีที่ปรึกษาและ SI ที่ผ่านการอบรมและฝึกฝนตามหลักสูตร LASI ที่จะตอบคำถามเหล่านี้ให้ท่านได้อย่างแน่นอน ด้วย 3 Step Engineering/Operating management

1.ขั้นตอนของการวิเคราะห์หาสภาพปัจจุบันและการปรับปรุงตามหลักการลีน (Lean Manufacturing) เช่น การแยกแยะกระบวนการที่สร้างมูลค่ากับกระบวนการที่ไม่สร้างมูลค่า การหาความสูญเปล่าของกระบวนการ การกำจัดความสูญเปล่า รวมถึงการปรับปรุงเพื่อลดกระบวนการที่ไม่สร้างมูลค่า (Improvement Lean Manufacturing)

2. ขั้นตอนของการออกแบบระบบอัตโนมัติตามหลักของลีน (System design for Lean Automation) ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องคำนึงถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการทำงานของเครื่องด้วย ซึ่งประกอบด้วยหลายๆส่วนด้วยกันที่นักออกแบบตามแนวคิดเดิมอาจมองข้ามไปทำให้เกิดช่องว่างที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลงทั้งที่มีระบบอัตโนมัติเหมือนกัน

3. ขั้นตอนของการบำรุงรักษาและการปรับปรุงให้ดีขึ้น (TPM/Lean Kaizen for Lean automation) เนื่องจากเครื่องจักรเมื่อมีการใช้งานไปนานๆย่อมเกิดปัญหาอันสืบเนื่องมาจากการสึกหรอของชิ้นส่วนหรือการที่ต้องรองรับการผลิตชิ้นงานหลายรุ่น ทำอย่างไรเรารักษาสภาพการทำงานให้คงอยู่และรักษาค่า OEE ที่เรากำหนดไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา:เอกสารประกอบการสอนโครงการ LASI

ข้อมูลเพิ่มเติม :LASI LEAN AUTOMATION คืออะไร? – Lean Lab Solution

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *