เกี่ยวกับสถาบันไทย-เยอรมัน (กรุงเทพ)
สถาบันไทย-เยอรมัน ศูนย์กรุงเทพฯ หรือ ศูนย์เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติปัจจุบัน ได้ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับ สถาบันไทย-เยอรมัน ภายใต้โครงการยกระดับอุตสาหกรรมแม่พิมพิ์ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม,เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากภาคเอกชนสู่ภาครัฐและภาคเอกชนกันเอง เป็นการสร้างเครือข่ายสังคมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและช่วยส่งให้เกิดการรับช่วงการผลิต
สถาบันไทย-เยอรมัน ศูนย์กรุงเทพฯ ถือว่าเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตามแนวทางความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นตลอดมานับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งศูนย์ฯเราได้ทำความร่วมมือกับบริษัท Kyodo Die Works(Thailand) เพื่อร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และจากนั้นในปี 2561 สถาบันไทย-เยอรมัน ศูนย์กรุงเทพ ได้รับมอบภาระกิจความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมไทยและกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุคสาหกรรมญี่ปุ่น(METI)ในการดำเนินงานรับการถ่ายทอดและส่งถ่ายความรู้เรื่อง Lean Automation Sytem Intrigrator (LASI) จากบริษัทเดนโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย สู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับและเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0
สมชาย จักร์กรีนทร์ — ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน
พันธกิจ
1.เป็นกลไกของภาครัฐและเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต
2.พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูง ด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดิจิทัล เครื่องจักรกลและแม่พิมพ์เพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพและเพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม
3.เป็นศูนย์ทดสอบวัสดุและบุคลากรที่ได้มาตรฐานระดับสากล
4.เป็นศูนย์ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ
5.สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative Solution Platform : CSP) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการยกระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตอัจฉริยะ
6.พัฒนาระบบการทำงานและการบริการให้เป็นระบบอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ค่านิยมร่วม
T = Teamwork
G = Good Governance
I = Innovation
S = Smart People